สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนก็คือประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้าคุณ หากพวกเขาไม่สามารถหาเว็บไซต์ของคุณเจอ โหลดหน้าเพจไม่ได้ หรือหาข้อมูลที่ต้องการบนเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ พวกเขาก็จะเลือกที่จะไปหาเว็บไซต์คู่แข่งของคุณแทน บรรดาเจ้าของธุรกิจและนักออกแบบเว็บไซต์ต่างพากันหาวิธีที่จะทำให้กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือการค้นหา(SEO) สำหรับเว็บไซต์ของพวกเขาอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความหวังที่ว่าพวกเขาจะสามารถรักษาลูกค้าเอาไว้ได้ จนถึงตอนนี้เองก็ยังไม่มีกลยุทธ์หรือแนวทางที่แน่นอนในการทำให้เว็บไซต์นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมเลย
แต่ Google นั้นได้ทำการเปิดตัว Web Vitals: Essential Metrics for a Healthy Site (ตัวชี้วัดที่สำคัญ สำหรับการทำให้เว็บไซต์สมบูรณ์แบบ) เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงแนวทางในการทำงาน และการดูตัวชี้วัดโดยตรงจากแหล่งที่มาที่ดี บทความนี้จะพูดถึงทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Web Vitals และวิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเว็บไซต์ธุรกิจของคุณ
Web Vitals คืออะไร?
ก่อนหน้าที่ Web Vitals จะถูกเปิดให้ใช้งาน ได้มีนักออกแบบจำนวนมากที่ได้พยายามสร้างเครื่องมือสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเว็บไซต์และประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า แต่ปัญหาคือเครื่องมือเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ และเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ที่ไม่มีประสบการร์ด้านการออกแบบ ซึ่งไม่สามารถทำให้เว็บไซต์ของพวกเขาใช้งานได้ดีพอ
Google เล็งเห็นปัญหาตรงจุดนี้ และได้ทำการสร้าง Web Vitals ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้มันง่ายต่อการใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป โดยเน้นความสะดวก ชัดเจน และง่ายต่อการใช้งานตัวชี้วัดหลักที่มาพร้อมกับการเปิดตัวในครั้งนี้คือ Core Web Vitals (ตัวชี้วัดหลัก) ตัวชี้วัดที่เจ้าของธุรกิจทุก ๆ คนควรให้ความสำคัญ และทำการศึกษาให้เข้าใจก่อนจะนำมาใช้จริงกับเว็บไซต์ของพวกเขา เพราะตัวชี้วัดเหล่านี้คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวัดประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ของคุณประการแรกคือ Largest Contentful Paint (LCP) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเร็วในการโหลดของหน้าเว็บไซต์ และยังเป็นตัววัดว่าวิชชวลคอนเทนท์ขึ้นแสดงให้ผู้เข้าชมได้เห็นเมื่อไหร่ Google ได้กล่าวไว้ว่า LCP ที่ดีที่สุดนั้นต้องขึ้นแสดงภายในระยะเวลา 2.5 วินาทีหลังจากที่ผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณจากผลลัพธ์การค้นหาของ Googleสองคือ First Input Delay (FID) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการปฎิสัมพันธ์ (Interactivity) ของผู้ใช้งาน โดยจะทำการติดตามผล ความพึงพอใจของผู้ใช้งานเมื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณผ่านการวัดระดับการปฎิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ของคุณไม่ควรมีค่า FID มากเกินกว่า 100 มิลลิวินาทีสามคือ Cumulative Layout Shift (CLS) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเสถียรภาพ หรือพูดง่ายๆคือเป็นตัววัดว่า รูปภาพ โค้ดฝัง และส่วนประกอบอื่น ๆ นั้นมีความเสถียรภาพมากแค่ไหน ค่า CLS ของคุณไม่ควรมีจำนวนมากกว่า 0.1Google ยังได้ทำการลงรายละเอียดข้อมูลของแต่ละตัวชี้วัด (Vitals) เอาไว้ โดยคุณสามารถคลิกเข้าลิงค์เฉพาะของแต่ละตัวชี้วัดเพื่อเข้าไปทำการศึกษาได้ แต่ละตัวชี้วัดจะใช้วิธีการแสดงผลการวิเคราะห์ดังนี้ ดี ควรปรับปรุง และ แย่
Supplemental Vitals (Vitals เสริม)
นอกจาก Core Web Vitals แล้ว เหล่าเจ้าของธุรกิจก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับ Vitals เสริม เช่นเดียวกันกับที่ Google ทำ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญมากที่สุด แต่มันก็มีส่วนจำเป็นสำหรับการทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานของเว็บไซต์คุณเป็นไปได้ดี
นี่คือตัวชี้วัด Web Vitals ส่วนเสริมของ Google และลิงค์เชื่อมโยงไปยังหน้าข้อมูล
- Time to First Byte (TTFB)
- First Contentful Paint (FCP)
- Total Blocking Time (TBT)
- Time to Interactive (TTI)
เมื่อคุณต้องการวัดค่า LCP ตัวติดตามผลอย่าง TTFB และ FCP จะเป็นส่วนช่วยเติมเต็ม เพราะทั้งสองตัวชี้วัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับการวัดความไวในการโหลดของหน้าเพจ มันสามารถช่วยคุณแก้ปัญหา อย่างเช่น ปัญหาการแล็คของหน้าเซิฟเวอร์ และส่วน render-blocking ได้คุณยังสามารถแก้ไขปัญหาการปฎิสัมพันธ์ได้โดยการใช้ตัวติดตามผล TBT และ TTI ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม Google ยังไม่ได้ทำการเพิ่มตัวชี้วัดเหล่านี้ไปยัง Core Vitals เพราะพวกมันไม่สามารถใช้ทำการวัดจริงบนเว็บไซต์ที่ใช้งานจริงได้
เครื่องมือสำหรับการวัดผล Web Vitals
Google ได้แนะนำเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับการติดตามผล Core Vitals และ Supplemental Vitals สำหรับเว็บไซต์ของคุณ
เครื่องมือแรกนั้นเป็นเครื่องมือที่ Google เลือกใช้สำหรับเพจของพวกเขา เช่น Workbox Puppeteer Lighthouse และ Chrome DevTools ซึ่งเครื่องมือนี้มีชื่อว่า Chrome User Experience Report โดยมัน จะทำการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานจากหลาย ๆ Web Vitals เมื่อคุณได้ติดตั้งเครื่องมือไปยังเบราเซอร์ของคุณแล้ว มันก็จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ โดยมันจะทำการวัดผลและสร้างข้อมูลของ Core Vitals ทั้งสามประเภทเครื่องมือที่สองที่ใช้สำหรับการวัดผล Vitals นั้นคือ JavaScript and uses standard APIs คุณสามารถใช้มันในการวัดผล Vitals แต่ละประเภทผ่านการเรียกใช้งานฟังก์ชันหนึ่ง ๆ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่เขียนโค้ดเป็นเท่านั้นและหากคุณต้องการที่ทำการติดตามผลเครื่องมือชี้วัดเหล่านี้ ในรูปแบบการทำงานแบบแล็บ Google ก็ได้ทำการแนะนำให้คุณใช้ Lighthouse หรือ Chrome DevTools เพราะพวกมันมีประสิทธิภาพสูง ในการตรวจสอบความเสถียรภาพบนเว็บไซต์ของคุณ ก่อนที่คุณจะเปิดให้ผู้ใช้งานได้เข้าชม อย่าง ไรก็ตาม ตัวชี้วัดประเภทแล็บยังไม่สามารถใช้งานแทนตัวชี้วัดภาคสนามได้
วิธีการปรับปรุงค่าตัวชี้วัด (Scores)
หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณมีประสบการณ์การใช้งานและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด การติดตามค่าตัวชี้วัดของคุณถือเป็นกุญแจสำคัญ คุณต้องทำการตรวจสอบ Core Web Vitals ของคุณเพื่อหาว่ามีส่วนไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือไม่
สำหรับ Largest Contentful Paint (LCP) แล้ว มีปัญหาหลากหลายรูปแบบที่อาจส่งผลกระทบต่อ ค่าตัวชี้วัด (scores) ของคุณได้ แต่ละปัญหาจะมีทางออกของมันเอง เช่น หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณใช้เวลาในการส่งคอนเทนท์ไปยังเบราเซอร์นานมากเท่าไหร่ การแสดงผลส่วนประกอบหลักต่าง ๆ บนเพจของคุณก็จะแสดงช้ามากขึ้นเท่านั้น คุณสามารถใช้ TTFB ในการวัดผลความเร็วดังกล่าว ก่อนจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการโหลดหน้าเพจของคุณผ่านการใช้งาน CDN ใกล้ ๆ หรือผ่านการใช้งานหน้าเพจผ่าน HTML pages cache ก่อนGoogle ได้แนะนำอุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ค่าตัวชี้วัด LCP ของคุณ คลิกจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคะแนน First Input Delay (FID) ของคุณต้องการการปรับปรุง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ในเรื่องค่า FID ที่ไม่ดี คือ JavaScript ที่ถูกใช้งานหนัก เบราว์เซอร์ไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอของผู้ใช้ หากมีการใช้งาน JavaScript หนัก ๆ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดปัญหานี้คือ การลดเวลาดำเนินการของ JavaScript ของคุณ หรือ แบ่งส่วนงานที่หนัก ๆ ออกไป คุณสามารถใช้เว็บเวิร์คเคอร์ เช่น Workway หรือ Workerize เพื่อลดเวลาในการบล็อกเธรดได้อีกด้วยGoogle ได้แนะนำวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ FID และลดแรงงานของสคริปต์ต่างๆเอาไว้ คลิ๊กCore Web Vitals ตัวสุดท้ายที่คุณต้องทำการปรับปรุงก็คือ Cumalative Layout Shift (CLS) นี่ถือเป็นปัญหาที่น่ารำคาญสำหรับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เมื่อพวกเขาพยายามคลิกส่วนการใช้งานบนเว็บไซต์แต่มันกลับเลื่อนไปส่วนอื่น นี่สามารถเกิดจาก iframes หรือโค้ดฝังต่าง ๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์การใช้งานบนเว็บไซต์ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการ กำหนดขนาด (สูงและกว้าง) ของรูปภาพและโค้ดฝังต่าง ๆ คุณจำเป็นที่จะต้องทำให้แน่ใจด้วยว่าบนหน้าเพจของคุณมีพื้นที่เพียงพอสำหรับโค้ดฝังเหล่านั้นลองเปิดอ่านคำแนะนำจาก Google สำหรับการปรับปรุง CLS คลิ๊ก
อนาคตของ Web Vitals
คำแนะนำของ Web Vitals นั้นเป็นส่วนใช้งานใหม่ที่ Google ได้ปล่อยออกมาในปีนี้ เช่นเดียวกันกับ การเปิดตัวของบริการอื่น ๆ ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการอัพเดทและเปลี่ยนแปลงส่วนการใช้งาน สืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่มากขึ้น คุณสามารถแน่ใจได้เลยว่าจะมีส่วนการใช้งานใหม่ ๆ และจะมีการอัพเดทใหม่ ๆ ที่อาจทำให้คุณต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ในฐานะนักออกแบบเว็บไซต์และเจ้าของธุรกิจก็คือ การพยายามตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ทันโดย การตรวจสอบ public changelogs published โดย Google ในนี้คุณจะสามารถเข้าถึงส่วนการใช้งานมากมาย รวมไปถึง Web Vitals และข้อมูลการอัพเดทล่าสุดอีกด้วย
ต้องการเป็นหนึ่งในเรื่องราวความสำเร็จต่อไปของเราหรือไม่
ติดต่อเราวันนี้ เราจะช่วยให้แบรนด์ของคุณได้ผลลัพธ์พวกนี้และได้มากกว่านี้